วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

“Hand Injury Prevention Program”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย วิชัย จงใจภักดี, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 
บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 3"



       “เป้าหมาย Zero Accident เป็นเป้าหมายที่ทุกองค์กรอยากจะประสบความสำเร็จโรงงานของเราก็เช่นกัน เราเชื่อว่าอุบัติเหตุป้องกันได้และอยากเห็นคนทำงานทุกคนกลับบ้านปลอดภัยทุกวัน จึงพยายามคิดหากลยุทธ์ในการป้องกันการบาดเจ็บของคนทำงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุพบว่า 55% ของ Injury caseทั้งหมดเกิดที่มือ (Hand injury) จึงได้ทำโครงการรณรงค์สร้างความตระหนัก hand injury ซึ่งจากการรณรงค์นอกจากจะสร้างความตระหนักในการป้องกันการบาดเจ็บที่มือแล้ว ยังส่งผลให้คนทำงานตระหนักถึงการป้องกันการบาดเจ็บในลักษณะอื่น ๆ ตามมาด้วย และที่สำคัญที่สุดเป็นโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วม นำไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินลงทุน”

       “Zero Accident Organization” เป็นเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินธุรกิจและเป็นเป้าหมายที่ต้องการความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายนี้ต่อเนื่องในทุกๆ วินาทีของการทำงานSafety is a Journey, not a Destinationจึงเป็นความท้าทายของหน่วยงานความปลอดภัยฯ ในการคิดวิเคราะห์และกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของคนทำงานในทุก ๆ วัน โดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา (Leaned from experience) ด้วยการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุย้อนหลังกลับไปพบว่า การบาดเจ็บที่นิ้วมือและมือเป็นการบาดเจ็บส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอดีตคิดเป็น 55%ของการบาดเจ็บทั้งหมด โดยสาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจาก

  1. ตำแหน่งของนิ้วมือหรือมืออยู่ใน Line of Fire 
  2. ยกหรือจับด้วยมือ โดยไม่มีหรือใช้อุปกรณ์ช่วยจับหรือยก 
  3. ยกของหนักเกินขีดความสามารถของคนยก 
  4. ช่วยกันยกหรือประคองวัสดุสิ่งของร่วมกันมากกว่า 1 คน
  5. การเคลื่อนที่ของท่อหรือท่อนั่งร้าน
  6. ปัดหรือจับของมีคมด้วยมือ
  7. ใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท 
  8. ใช้ถุงมือไม่เหมาะสมหรือไม่ใช้ถุงมือป้องกัน

       จึงได้เสนอโครงการHand Injury Prevention เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนัก (Awareness) และหาวิธีการในการป้องกันการบาดเจ็บที่มือและเชื่อว่าจะส่งผลต่อการป้องกันการบาดเจ็บในลักษณะอื่นๆ ตามมาด้วย ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่



       จากการดำเนินโครงกานนี้ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมให้คนทำงานมี safety awareness และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานแล้ว เรายังได้เรียนรู้และพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่จะมาช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่มือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ด้านความปลอดภัย และที่สำคัญที่สุด Hand Injury Program ยังเป็นต้นเรื่องของการมีสร้างการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินลงทุนครับ


**********************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น